post image

เพลงลูกทุ่งอีสานกับการครองใจแรงงานทั้งประเทศมาหลายทศวรรษ

เพลงที่ถือได้ว่ายอดนิยมที่สุดในประเทศไทย คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคือเพลงลูกทุ่งแนวอีสาน ที่ไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัยก็ยังได้รับกระแสตอบรับอย่างดีเสมอ ถือว่าเป็นแนวเพลงที่เข้าถึงคนหมู่มากในประเทศเลยก็ว่าได้ ด้วยเนื้อเพลงที่มีความเป็นภาษาถิ่น และเนื้อหาที่เข้าใจชนชั้นแรงงาน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ นั่นทำให้เพลงลูกทุ่งอีสานเข้าไปอยู่ในดวงใจของใครหลายๆคน เพลงลูกทุ่งคือเพลงที่สะท้อนเรื่องราววิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของไทย โดยจะมีรูปแบบการร้อง และทำนองดนตรีที่ฟังง่าย ให้กลิ่นอายของความเป็นพื้นถิ่น เรียกว่าความเป็นลูกทุ่ง ซึ่งเพลงแนวนี้อยู่คู่กับคนไทยมาเกือบศตวรรษ ช่วงที่ถือได้ว่าเป็นยุคทองของลูกทุ่งเลยก็คือช่วงปีพ.ศ. 2506-2513 หรือจะเป็นในปีพ.ศ. 2516 ที่เพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตเริ่มเข้ามามีกระแส ท่ามกลางเหตุการณ์ทางการเมืองอย่าง 14 ตุลา ในปีเดียวกันนั้นเอง ต่อมาในปีพ.ศ. 2520-2528 วงการเพลงลูกทุ่งเริ่มเข้าสู่ทุนนิยมมากยิ่งขึ้น โดยมีการตั้งค่ายเพลง การเดินสายของคณะลูกทุ่งต่างๆ หรือรวมไปถึงการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งอีกด้วย โดยเพลงลูกทุ่งเหล่านี้มีอิทธิพลกับคนในประเทศค่อนข้างมากพอสมควร เห็นได้จากความนิยมอย่างไม่ลดละตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา นักร้องลูกทุ่งเกิดใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยมีเพลงฮิตที่ยังคงติดหูคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน อาทิ ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ ที่เพลงของเธอถูกนำมาร้องและใช้ในการประกวดอยู่บอยครั้ง แม้กระทั่งในปัจจุบันเองก็ตาม กระแสเพลงลูกทุ่งที่ไม่เคยหายไปนี้ และยังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่แล้วคงไม่พ้นเพลงลูกทุ่งแนวอีสาน ที่เหมือนจะจับใจชนชั้นแรงงานที่เข้ามาทำงานในเมืองกรุงได้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่ที่เข้ามาในเมืองหลวงคือคนจากภาคอีสาน ด้วยสภาพอากาศและสภาพภูมิประเทศที่ไม่เอื้อต่อการทำการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยมากนัก ทางเลือกที่จะเข้ามาหาความก้าวหน้าในเมืองย่อมเป็นหนทางที่ดีกว่า เพลงลูกทุ่งอีสานถือว่าเป็นเพื่อนใจของคนกลุ่มนี้ ด้วยภาษาและสำเนียงที่ทำให้นึกถึงบ้านเกิด ด้วยตัวนักร้องที่เป็นคนอีสานเหมือนกัน อาทิ ไมค์ ภิรมย์พร, ไผ่ พงศธรและตั๊กแตน ชลดา

post image

อะไรทำให้ K-Pop ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด และต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 มานี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าวงการบันเทิงที่ทรงอิทธิพลในเอเชียนั้นคือวงการบันเทิงประเทศเกาหลีใต้ ทั้งซีรี่ส์และเพลงแนว K-Pop ที่โด่งดังไปทั่วทั้งเอเชีย หรืออาจจะรวมไปถึงการมีชื่อเสียงในระดับโลกด้วยเช่นกัน อะไรทำให้วัฒนธรรม K-Pop เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และมีชื่อเสียงเป็นระยะเวลายาวนานนับทศวรรษ จนเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 1990 วงที่ใช้ชื่อว่า Seo Taiji and Boys ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนให้วงการบันเทิงเกาหลีเป็นอย่างมาก เนื่องจากแนวเพลงแต่เดิมของเกาหลีนั้นมักพูดถึงเรื่องชาตินิยม แต่วงฮิปฮอปกลุ่มนี้กลับมีเนื้อหาของเพลงและแนวเพลงที่ค่อนข้างแหกคอก ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในประเทศอีกด้วย แนวทางของ Seo Taiji and Boys จะเป็นแบบตะวันตก คือการแต่งตัวแบบตะวันตก มีการร้องแร็ป มีการเต้นบีบอย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในวงการเพลงเกาหลีมาก่อน สไตล์ของ Seo Taiji and Boys นี้กลายเป็นแนวทางให้วงการเพลงเกาหลีในเวลาต่อมา SM Entertainment ที่นำโดยนาย Lee Soo-man ได้ริเริ่มแนวคิดเรื่องการทำให้อุตสาหกรรมเพลงเกาหลีใต้กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม โดยที่ร่วมมือกับรัฐบาลเกาหลี ที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะต้องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศขณะนั้น โดยบริษัทค่ายเพลยักษ์ใหญ่ต่างๆก็หันมาร่วมมือและใช้สูตรสำเร็จนี้ในการสร้างศิลปิน การปั้นวงขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสมาชิก คาแรกเตอร์ของสมาชิกในวงที่ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไปทั้งร้องและเต้น หรือแม้กระทั่งแร็ป และสูตรสำเร็จในการสร้างศิลปินนี้ก็ได้ทำให้วงการ

post image

เพลงโฟล์คซองภาคเหนือที่กลับมามีกระแสอีกครั้ง

ในช่วง 1-2 ปี อีกหนึ่งแนวเพลงที่กลับมาเป็นกระแสอีกครั้งคงไม่พ้นแนวเพลงแบบโฟล์คซองของภาคเหนือ เมื่อเพลง “แก้มน้องนางนั้นแดงกว่าใคร” ของเขียนไขและวานิช ได้รับกระแสตอบรับที่ดี และเป็นไวรัลไปทั่วทั้งประเทศ จนเกิดการคัฟเวอร์มากมายหลากหลายเวอร์ชั่น ถือเป็นการกลับมาของกระแสเพลงแนวโฟล์คซองนี้อีกครั้ง หลังจากห่างหายไปหลายทศวรรษ โฟล์คซองภาคเหนือนั้นเคยได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในช่วงทศวรรษที่ 2520 โดยศิลปินที่ได้รับความนิยมอย่างสูงก็คือจรัล มโนเพ็ชร ที่มีเพลงฮิตติดหูมากมาย อาทิ ปี่สาวครับ, อุ้ยคำ, รางวัลแต่คนช่างฝัน, สาวเชียงใหม่, น้อยใจยา ฯลฯ จรัลถือได้ว่าเป็นราชาโฟล์คซองคำเมืองเลยก็ว่าได้ ด้วยการใช้คำเมือง หรือภาษาเหนือในการเขียนเนื้อเพลง และการใช้ทำนองแนวโฟล์คพื้นเมืองภาคเหนือ ที่จะเป็นสไตล์สบายๆ ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลาย ได้กลิ่นอายของความเป็นภาคเหนือ บวกกับการใช้ภาษาที่งดงามในการเขียนเพลง ทำให้จรัล มโนเพ็ชร ได้รับความนิยมอย่างสูง นอกจากนั้นการเลือกใช้เครื่องดนตรีของจรัลยังแตกต่างกับการใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองเหนือแบบศิลปินยุคเก่า นั่นก็คือการใช้กีตาร์และแมนโดลินมาแทนเสียงซึง ใช้ขลุ่ยฝรั่งแทนขลุ่ยไทย และจรัลยังใช้เครื่องดนตรีสมัยใหม่ในการบรรเลงเพลงแบบเดิมให้เกิดความลงตัว นอกจากจรัล มโนเพ็ชร ยังมีศิลปินที่ใช้เพลงโฟล์คในการสื่อสารและได้รับความนิยมอย่างมากในยุคต่อมาเช่นกัน อาทิ ลานนา คัมมินส์ บุตรสาวของสุนทรี เวชานนท์ ที่เคยทำงานร่วมกันกับจรัล มโนเพ็ชร มาก่อน ลานนาเป็นหนึ่งในศิลปินแนวโฟล์คซองภาคเหนือที่ประสบความสำเร็จอย่างมาในปีพ.ศ. 2547-2550 โดยมีเพลงฮิตอย่าง ไว้ใจได้กา หลังจากนั้นกระแสเพลงต่างๆในประเทศไทยก็ได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัย